วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

พระร่วงยืนหลังลายผ้า ศิลปะลพบุรี เนื้อชินตะกั่วสนิมแดงสลับสีเปลือกมงคุด อายุประมาณ 700 ปี วิธีสังเกตุธรรมชาติขององค์พระสนิมแร่เหล็กในตะกั่วเกิดจากข้างในเป็นชั้นออกมาสู่ด้านนอกสังเกตุได้จากรอยกระเทาะของผิวพระบริเวณข้อเท้า ด้านนอกสนิมตกผลึกสีเปลือกมงคุด พร้อมสนิมไขแคลเซี่ยม รอยแตกใยแมงมุมเล็กๆมีสนิมไขดันออกมาจากข้างใน รอยยับย่นเซ็ทตัวของเนื้อตะกั่ว เป็นระบบของธรรมชาติซึ่งไม่สามารถปลอมแปลงได้ คือความเป็นธรรมชาติในทุกด้านขององค์พระ อุณหภมิของกรุแต่ละแห่งและแร่ที่อยู่ในตะกั่ว มีผลทำให้สีของสนิมและธรรมชาติที่แตกต่างกันไปในพระแต่ละองค์







วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ฝากกรุบางขุนพรหม พระพิมพ์ของวัดระฆังโฆสิตาราม ที่สมเด็จโตท่านทำไว้ก่อนที่วัดระฆัง นำมาฝากกรุไว้คราวที่สร้างพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม นั้นมีจำนวนเท่าไหร่ไม่มีใครทราบได้ แต่พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตารามที่มีคราบกรุของบางขุนพรหมนั้นเป็นตัวบ่งบอกได้ว่าพระสมเด็จวัดระฆังองค์นี้ทั้งพิมพ์และเนื้อหานั้นแตกต่างกันอย่างชัดเจน แต่สิ่งที่บ่งบอกอย่างชัดเจนว่าเป็นพระฝากกรุก็คือคราบกรุของวัดบางขุนพรหมที่อยู่ทางด้านหลังและคราบดินกรุที่จับอยู่บนองค์พระองค์นี้ พระที่แตกกรุออกมามีอีกมากที่เรายังไม่เห็น บรรจุกรุ 84000 องค์ แตกกรุมา ที่ได้เห็นมายังไม่ถึงหมื่นองค์เลยครับแล้วเยอะขนาดไหนลองคิดดูเองนะครับ







พระพิมพ์ทรงครุฑยันต์แถวเดียว หลวงพ่อปานวัดบางนมโค จ.อยุธยา ผงอุดยันต์เกราะเพ็ชรเดิมๆ สภาพเก็บ ไม่ผ่านการใช้ผิวจะแห้งจัด การพิจารณาพิมพ์ทรงพระหลวงพ่อปานนั้นต้องเข้าใจเรื่องศิลปะเส้นสาย ทีมีความพริ้วสวยงามเป็นธรรมชาติมีการหดม้วนตัวของเส้นสายในบางจุดที่เห็นได้ ติดชัดบ้างไมชัดบ้างธรรมชาติของพระกดพิมพ์ด้วยมือ หนักบ้างเบาบ้าง ติดชัดบ้างไม่ชัดบ้าง และสิ่งที่สำคัญคือเนื้อหาของพระนั้นจะมีกรวดเม็ดขนาดไล่เลี่ยกันด้วยอายุพระเม็ดกรวดจะโผล่ขึ้นมาให้เห็นยิ่งพระผ่านการใช้มามากจะเห็นได้ชัดเจน ผงอุดยันต์เกราะเพ็ชรที่สังเกตได้ง่ายจะมีสีขาวอมเทามีความแห้งแต่มีน้ำมีนวลเมื่อโดนสัมผัส







วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

พระท่ากระดานศรีสวัสดิ์ พิมพ์ใหญ่ สนิมแดงจัด เปรียบเทียบเต้าตะกั่ว ที่พบเจออยู่ตามกรุพระหลายๆที่ เช่นที่กรุถ้ำลั่นทม กรุพระท่ากระดาน ที่ ต. ท่ากระดาน อ. ศรีสวัสดิ์ ก็พบเจอเต้านี้อยู่ในกรุพระ และบริเวณเตาหลอมพระที่พบบริเวณหน้าถ้ำนั้นด้วยจำนวนหนึ่ง ให้สังเกตสีสนิมที่เต้าตะกั่วจะแดงฉ่ำใสเช่นเดียวกับพระท่ากระดานและการเซ็ตตัวด้านหลังของพระท่ากระดานจะเป็นเส้นเสี้ยนเหมือนหลังเต้าตะกั่วนี่คือพระท่ากระดานที่ถึงยุคจริงๆ ธรรมชาติอีอย่างหนึ่งซึ่งพบเจอได้ในพระท่ากระดานบางองค์เช่นองค์นี้ ไขจะดันตัวออกมาจากด้านในสู่ด้านนอก ทำให้เกิดเส้นแตกคล้ายใยแมงมุม ที่บริเวณใบหน่า ตา จมูก และที่เกศ และอีกหลายที่ซึ่งของเลียนแบบไม่สามารถทำได้