กำเนิดของพระท่ากระดานครั้งแรกได้ถูกค้นพบที่ “กรุถ้ำลั่นทม” เป็นแห่งแรก กรุนี้อยู่ห่าง จากตัวจังหวัดกาญจนบุรี ประมาณ 70 ก.ม. อยู่ทางทิศเหนือของแม่น้ำแควใหญ่ มิได้อยู่ในเขตตำบลท่ากระดานพระจากกรุนี้พบในบริเวณถ้ำ บริเวณหน้าถ้ำมีเจดีย์โบราณอยู่หลายองค์ พระที่ถูกค้นพบมีอยู่ด้วยกันหลายร้อยองค์ และพบแม่พิมพ์ของพระท่ากระดาน พร้อมกับเศษตะกั่วที่มีสนิมแดงเกิดขึ้นอีกมากมาย ทำให้สันนิษฐานว่าบริเวณถ้ำลั่นทมนี้คือสถานที่สร้างพระท่ากระดาน และเป็นที่อยู่ของฤาษีผู้สร้างพระท่ากระดานในสมัยนั้นในปี พ.ศ. 2495 – 2496 ได้มีการขุดพบพระท่ากระดานอีก กรุวัดเหนือ (วัดบน) วัดกลาง และวัดใต้ (วัดล่าง) ที่ตำบลท่ากระดาน อำเภอศรีสวัสดิ์ พระที่ถูกค้นพบมีมากพอสมควร คือมีจำนวนรวมกันและประมาณหลายร้อยองค์ พระที่ค้นพบในบริเวณสามวัดนี้ส่วนใหญ่จะเป็นพระที่มีการปิดทองทุกองค์และ ด้านหลังจะเป็นร่องหรือแอ่งลึกแทบทุกองค์ พระจะมีสนิมแดงเข้มดูสวยงามพระที่ถูกค้นพบในยุคนั้นที่ถือว่าสวยและสมบูรณ์มากก็คือวัดกลาง ซึ่งมีผู้เรียกวัดนี้ว่า “วัดท่ากระดาน” นั้นเองในเวลาต่อมาวัดเหนือหรือวัดบนและวัดใต้หรือวัดล่างได้ถูกน้ำกัดเซาะทำ ให้ตลิ่งพังวัดทั้งสองจึงพังทลายลงสู่ลำน้ำทั้งสองวัดเพราะบริเวณวัดตั้ง อยู่ริมน้ำที่ยังหลงเหลืออยู่ก็คือวัดกลางหรือวัดท่ากระดานเท่านั้นในปี พ.ศ. 2506 ได้มีการขุดค้นพบพระท่ากระดานอีก ที่บริเวณวัด “นาสวน” (วัดต้นโพธิ์) อยู่เหนือที่ว่าการอำเภอศรีสวัสดิ์เล็กน้อย เป็นบริเวณพระอารามร้าง ในการพบในครั้งนั้นได้พระท่ากระดานจำนวนไม่มากนักคือจำนวนไม่กี่สิบองค์วัดที่ได้กล่าวในข้างต้นนั้น ทั้งหมดอยู่ในเขตอำเภอศรีสวัสดิ์ อาจกล่าวได้ว่าพระเหล่านั้น นักนิยมพระเครื่องมักเรียกว่าพระกรุเก่า หรือกรุศรีสวัสดิ์ ทั้งสิ้นนอกเหนือจากการขุดค้นพบบริเวณอำเภอศรีสวัสดิ์ ยังมีการขุดค้นพบที่บริเวณ “วัดหนองบัว” ซึ่งตั้งอยู่ในตำบลหนองบัว อำเภอเมืองกาญจนบุรีอีก พบจากการปฏิสังขรณ์พระอารามได้พระท่ากระดานประมาณ 90 องค์ เมื่อปี พ.ศ. 2497 ต่อมาในปี พ.ศ. 2506 ได้มีการพบพระท่ากระดานอีกเป็นจำนวนมากที่ “วัดเหนือ” (วัดเทวะสังฆาราม) ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี โดยทางวัดได้ทำการเจาะพระเจดีย์องค์ประธานเพื่อที่จะบรรจุพระ 25 พุทธศตวรรษ ก็พบไหโบราณซึ่งบรรจุพระท่ากระดานและได้พบพระอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก เช่น พระขุนแผนสนิมแดงห้าเหลี่ยม พระท่ากระดานหูช้าง และพระอื่น ๆ อีกมากวัดเทวะสังฆาราม (วัดเหนือ) ถือว่าเป็นวัดที่พบพระท่ากระดานที่สมบูรณ์ที่สุด เพราะพระจะอยู่ในไหและเป็นพระที่สมบูรณ์มากที่สุดในปี พ.ศ. 2507 ได้มีการพบพระท่ากระดานอีกมากที่ “วัดท่าเสา” ซึ่งตั้งอยู่ในตำบลลาดหญ้า อำเภอเมืองกาญจนบุรี นอกจากนั้นยังค้นพบพระท่ากระดานน้อย (พระท่าเสา) อีกจำนวนหนึ่งที่เข้าใจว่าเป็นพระยุคหลังกว่าพระท่ากระดานพิมพ์ใหญ่ในปี พ.ศ. 2537 ได้มีการค้นพบพระท่ากระดานอีกบริเวณตำบลลาดหญ้าอีก แถวบริเวณใกล้ ๆ กับค่ายทหารกองพลที่ 9 พระที่ค้นพบในครั้งนั้นถือว่าสมบูรณ์มากแต่สนิมของพระท่ากระดานจะมีไขขาว คลุมเกือบทุกองค์และจะมีทองกรุปิดเกือบทุกองค์ จุดเด่นของพระกรุนี้จะมีเกศยาวกว่าทุกกรุ พระที่พบมีประมาร 50 กว่าองค์เท่านั้น
ในปี พ.ศ. 2541 ได้มีการพบพระท่ากระดานได้ในถ้ำเขตอำเภอผาภูมิ พระที่พบจะมีลักษณะผิวพระจะไม่เรียบมีผิวขรุขระเกิดจากการพองของไขสนิม เพราะพระที่มีอยู่ในถ้ำจะชำรุดโดยเฉพาะคอจะหักเสียเป็นส่วนใหญ่ที่ไม่ สมบูรณ์มีไม่เกิน 20 องค์ ถือว่าเป็นพระที่เป็นการพบครั้งล่าสุดถ้าจะแยกเป็นกรุที่พบพระท่ากระดาน ก็พอจำแนกได้ดังต่อไปนี้1. กรุถ้ำลั่นทม ปี พ.ศ. 2497 พบพระประมาณ 200 องค์2. กรุเหนือ (กรุวัดบน) ปี พ.ศ. 2495 – 2496 พบพระประมาณ 300 – 400 องค์3. กรุกลาง (วัดท่ากระดาน) ประมาณ 100 กว่าองค์ที่ ปี พ.ศ. 2495 – 24964. กรุใต้ (กรุวัดล่าง) ปี พ.ศ. 2495 – 2496 พบพระไม่ถึง 100 องค์5. กรุวัดนาสวน (วัดต้นโพธิ์) ปี พ.ศ. 2506 ได้พบพระประมาณ 40 องค์6. กรุวัดหนองบัว (วัดศรีอุปลาราม) ปี พ.ศ. 2497 ได้พบพระประมาณ 90 องค์7. กรุวัดเหนือ (วัดเทวะสังฆาราม) ปี พ.ศ. 2506 พบพระท่ากระดานอยู่ในไห 29 องค์ พระท่ากระดานหูช้าง 800 องค์ พระขุนแผนสนิมแดงห้าเหลี่ยม 200 องค์ พระโคนสมอ 100 องค์ พระปรุหนัง 20 องค์8. วัดท่าเสา ปี พ.ศ. 2507 ได้พระท่ากระดานไม่กี่สิบองค์ พระท่ากระดานน้อยจำนวนหลายร้อยองค์9. บริเวณตำบลลาดหญ้าใกล้ ๆ กับ ค่ายทหารกองพลฯ ปี พ.ศ. 2537 ประมาณ 50 กว่าองค์10 .บริเวณถ้ำในเขตอำเภอทองผาภูมิ ปี พ.ศ. 2541 พบพระประมาณ 80 องค์ ชำรุดเสียส่วนใหญ่ พระท่ากระดานจำแนกเป็นกรุใหญ่ ๆ ได้ 2 กรุคือ กรุเก่าและกรุใหม่ “กรุเก่า” ก็คือพระที่ถูกค้นพบที่ถ้ำลั่นทมใน ปี พ.ศ. 2497 และค้นพบในเขตอำเภอศรีสวัสดิ์คือ กรุบน, กรุกลาง, กรุล่างในปี พ.ศ. 2495 ถึงปี พ.ศ. 2496 และกรุวัดหนองบัวปี พ.ศ. 2497 “กรุใหม่” ก็คือกรุที่ถูกค้นพบที่วัดเหนือ (เทวะสังฆาราม), กรุนาสวน, กรุท่าเสา, กรุลาดหญ้า และกรุในถ้ำอำเภอทองผาภูมิพระท่ากระดานนอกจากจะเป็นพระชั้นหนึ่ง ของจังหวัดกาญจนบุรีแล้ว ยังถูกจัดอยู่ในชุดเบญจยอดขุนพลซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังที่สุด ของพระเนื้อโลหะด้วย ถือว่าเป็นพระที่มีราคาเช่าหาสูง และพุทธคุณนั้นเปี่ยมล้นไปด้วยความขลังไม่ว่าทางแคล้วคลาดหรือคงกระพัน ชาตรีจนมีผู้กล่าวขานกันว่าพระท่ากระดานนั้นคือ “ขุนศึกแห่งลุ่มน้ำแม่กลองเลยทีเดียว” พระท่ากระดานไม่ว่าจะเป็น “พระกรุเก่า” หรือ “พระกรุใหม่” ถือว่าสร้างพร้อมกันต่างกันเพียงสถานที่พบและระยะเวลาการขุดค้นพบเท่านั้น เองขนาดมาตรฐานขององค์พระท่าพระดาน " พิมพ์ใหญ่ กว้างประมาณ ๒.๖ - ๒.๘ ซม. สูงประมาณ ๔.๒ - ๕.o ซม. ความหนาที่ฐานพระ ๑.๓ - ๑.๕ ซม. " และ " พระท่าพระดาน พิมพ์เล็ก มีขนาดกว้างประมาณ ๒.o - ๒.๕ ซม. สูงประมาณ ๓.๘ ซม. ความหนาที่ฐาน ๑.๒ ซม. " ... พระท่ากระดาน “มหิทธิฉัททนากร” หมายถึง “ผู้ทรงมหาอุตม์อันยิ่งใหญ่” เป็นพระศักรพุทธปฏิมาได้รับการเลือกสรรแล้วสำหรับ ประจำพระศอองค์สมเด็จพระภัทรมหาราชเจ้า จอมราชันผู้ประเสริฐแห่งทวยนิกรชาวไทยพุทธคุณ อยู่ยง คงกระพัน ชาตรี แคล้วคลาด ปลอดภัย มหาอุตม์พระท่ากระดาน “มหิทธิฉัททนากร” หมายถึง “ผู้ทรงมหาอุตม์อันยิ่งใหญ่” เป็นพระศักรพุทธปฏิมาได้รับการเลือกสรรแล้วสำหรับ ประจำพระศอองค์สมเด็จพระภัทรมหาราชเจ้า จอมราชันผู้ประเสริฐแห่งทวยนิกรชาวไทย พุทธคุณ อยู่ยง คงกระพัน ชาตรี แคล้วคลาด ปลอดภัย มหาอุตม์ มหาอำนาจ มหานิยมในตัว เรียกได้ว่าครบเครื่องเลยทีเดียวแบบพิมพ์หลักเฉพาะกรุ พระท่ากระดานที่ปรากฏในกรุต่างๆจะมีทุกพิมพ์เว้นแบบพิมพ์หูช้างเท่านั้นซึ่งมีจำนวนน้อยที่สุด แต่กรุใดกรุหนึ่งก็ย่อมจะมีแบบพิมพ์แบบพิมพ์ใดเป็นหลัก คือ มีปรากฏมากกว่าพิมพ์อื่นๆ ดังเช่นก. กรุถ้ำลั่นทม ได้แก่ แบบพิมพ์หน้าเสี้ยม พระเกศค่อนข้างยาวและ หลังแอ่งข. กรุวัดล่าง ” แบบหน้ามงคล พระเกศค่อนข้างยาว หลังราบเรียบ (หรือเรียบนูน)ค. กรุวัดกลาง(วัดท่ากระดาน) ” แบบหน้าลักยิ้ม พระเกศเมาลี หลังราบเรียบ (หรือเรียบนูน) และมีแบบพิมพ์หูช้างด้วยง. กรุวัดบน ” แบบหน้ามงคล (หรือหน้าลักยิ้ม,หน้าเสี้ยม) พระเกศเมาลี (หรือเกศจิ่ม , เกศยาว) หลังราบเรียบ (หรือเรียบนูน)จ. กรุวัดนาสวน ” แบบพิมพ์อกครุฑ พระเกศเมาลี หลังเรียบนูน (หรือราบเรียบ)ฉ. กรุวัดหนองบัว ” แบบพิมพ์หน้ามงคล พระเกศตุ้ม (หรือเกศจิ่ม) หลังแอ่งช. กรุวัดเหนือ ” แบบพิมพ์หน้าลักยิ้มพระเกศยาวมาก หลังเรียบนูน (ราบเรียบ)ซ. กรุวัดท่าเสา ” แบบพิมพ์หน้ามงคล พระเกศแบบยาว หลังราบเรียบ (หรือเรียบนูน)ฌ. กรุวัดเขาชนไก่ ” แบบพิมพ์หน้าลักยิ้ม พระเกศเมาลี หลังเรียบนูน (หรือราบเรียบ)
กำเนิดของพระท่ากระดานครั้งแรกได้ถูกค้นพบที่ “กรุถ้ำลั่นทม” เป็นแห่งแรก กรุนี้อยู่ห่าง จากตัวจังหวัดกาญจนบุรี ประมาณ 70 ก.ม. อยู่ทางทิศเหนือของแม่น้ำแควใหญ่ มิได้อยู่ในเขตตำบลท่ากระดานพระจากกรุนี้พบในบริเวณถ้ำ บริเวณหน้าถ้ำมีเจดีย์โบราณอยู่หลายองค์ พระที่ถูกค้นพบมีอยู่ด้วยกันหลายร้อยองค์ และพบแม่พิมพ์ของพระท่ากระดาน พร้อมกับเศษตะกั่วที่มีสนิมแดงเกิดขึ้นอีกมากมาย ทำให้สันนิษฐานว่าบริเวณถ้ำลั่นทมนี้คือสถานที่สร้างพระท่ากระดาน และเป็นที่อยู่ของฤาษีผู้สร้างพระท่ากระดานในสมัยนั้น
ตอบลบในปี พ.ศ. 2495 – 2496 ได้มีการขุดพบพระท่ากระดานอีก กรุวัดเหนือ (วัดบน) วัดกลาง และวัดใต้ (วัดล่าง) ที่ตำบลท่ากระดาน อำเภอศรีสวัสดิ์ พระที่ถูกค้นพบมีมากพอสมควร คือมีจำนวนรวมกันและประมาณหลายร้อยองค์ พระที่ค้นพบในบริเวณสามวัดนี้ส่วนใหญ่จะเป็นพระที่มีการปิดทองทุกองค์และ ด้านหลังจะเป็นร่องหรือแอ่งลึกแทบทุกองค์ พระจะมีสนิมแดงเข้มดูสวยงาม
พระที่ถูกค้นพบในยุคนั้นที่ถือว่าสวยและสมบูรณ์มากก็คือวัดกลาง ซึ่งมีผู้เรียกวัดนี้ว่า “วัดท่ากระดาน” นั้นเอง
ในเวลาต่อมาวัดเหนือหรือวัดบนและวัดใต้หรือวัดล่างได้ถูกน้ำกัดเซาะทำ ให้ตลิ่งพังวัดทั้งสองจึงพังทลายลงสู่ลำน้ำทั้งสองวัดเพราะบริเวณวัดตั้ง อยู่ริมน้ำที่ยังหลงเหลืออยู่ก็คือวัดกลางหรือวัดท่ากระดานเท่านั้น
ในปี พ.ศ. 2506 ได้มีการขุดค้นพบพระท่ากระดานอีก ที่บริเวณวัด “นาสวน” (วัดต้นโพธิ์) อยู่เหนือที่ว่าการอำเภอศรีสวัสดิ์เล็กน้อย เป็นบริเวณพระอารามร้าง ในการพบในครั้งนั้นได้พระท่ากระดานจำนวนไม่มากนักคือจำนวนไม่กี่สิบองค์
วัดที่ได้กล่าวในข้างต้นนั้น ทั้งหมดอยู่ในเขตอำเภอศรีสวัสดิ์ อาจกล่าวได้ว่าพระเหล่านั้น นักนิยมพระเครื่องมักเรียกว่าพระกรุเก่า หรือกรุศรีสวัสดิ์ ทั้งสิ้น
นอกเหนือจากการขุดค้นพบบริเวณอำเภอศรีสวัสดิ์ ยังมีการขุดค้นพบที่บริเวณ “วัดหนองบัว” ซึ่งตั้งอยู่ในตำบลหนองบัว อำเภอเมืองกาญจนบุรีอีก พบจากการปฏิสังขรณ์พระอารามได้พระท่ากระดานประมาณ 90 องค์ เมื่อปี พ.ศ. 2497 ต่อมาในปี พ.ศ. 2506 ได้มีการพบพระท่ากระดานอีกเป็นจำนวนมากที่ “วัดเหนือ” (วัดเทวะสังฆาราม) ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี โดยทางวัดได้ทำการเจาะพระเจดีย์องค์ประธานเพื่อที่จะบรรจุพระ 25 พุทธศตวรรษ ก็พบไหโบราณซึ่งบรรจุพระท่ากระดานและได้พบพระอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก เช่น พระขุนแผนสนิมแดงห้าเหลี่ยม พระท่ากระดานหูช้าง และพระอื่น ๆ อีกมาก
วัดเทวะสังฆาราม (วัดเหนือ) ถือว่าเป็นวัดที่พบพระท่ากระดานที่สมบูรณ์ที่สุด เพราะพระจะอยู่ในไหและเป็นพระที่สมบูรณ์มากที่สุด
ในปี พ.ศ. 2507 ได้มีการพบพระท่ากระดานอีกมากที่ “วัดท่าเสา” ซึ่งตั้งอยู่ในตำบลลาดหญ้า อำเภอเมืองกาญจนบุรี นอกจากนั้นยังค้นพบพระท่ากระดานน้อย (พระท่าเสา) อีกจำนวนหนึ่งที่เข้าใจว่าเป็นพระยุคหลังกว่าพระท่ากระดานพิมพ์ใหญ่
ในปี พ.ศ. 2537 ได้มีการค้นพบพระท่ากระดานอีกบริเวณตำบลลาดหญ้าอีก แถวบริเวณใกล้ ๆ กับค่ายทหารกองพลที่ 9 พระที่ค้นพบในครั้งนั้นถือว่าสมบูรณ์มากแต่สนิมของพระท่ากระดานจะมีไขขาว คลุมเกือบทุกองค์และจะมีทองกรุปิดเกือบทุกองค์ จุดเด่นของพระกรุนี้จะมีเกศยาวกว่าทุกกรุ พระที่พบมีประมาร 50 กว่าองค์เท่านั้น
ในปี พ.ศ. 2541 ได้มีการพบพระท่ากระดานได้ในถ้ำเขตอำเภอผาภูมิ พระที่พบจะมีลักษณะผิวพระจะไม่เรียบมีผิวขรุขระเกิดจากการพองของไขสนิม เพราะพระที่มีอยู่ในถ้ำจะชำรุดโดยเฉพาะคอจะหักเสียเป็นส่วนใหญ่ที่ไม่ สมบูรณ์มีไม่เกิน 20 องค์ ถือว่าเป็นพระที่เป็นการพบครั้งล่าสุด
ตอบลบถ้าจะแยกเป็นกรุที่พบพระท่ากระดาน ก็พอจำแนกได้ดังต่อไปนี้
1. กรุถ้ำลั่นทม ปี พ.ศ. 2497 พบพระประมาณ 200 องค์
2. กรุเหนือ (กรุวัดบน) ปี พ.ศ. 2495 – 2496 พบพระประมาณ 300 – 400 องค์
3. กรุกลาง (วัดท่ากระดาน) ประมาณ 100 กว่าองค์ที่ ปี พ.ศ. 2495 – 2496
4. กรุใต้ (กรุวัดล่าง) ปี พ.ศ. 2495 – 2496 พบพระไม่ถึง 100 องค์
5. กรุวัดนาสวน (วัดต้นโพธิ์) ปี พ.ศ. 2506 ได้พบพระประมาณ 40 องค์
6. กรุวัดหนองบัว (วัดศรีอุปลาราม) ปี พ.ศ. 2497 ได้พบพระประมาณ 90 องค์
7. กรุวัดเหนือ (วัดเทวะสังฆาราม) ปี พ.ศ. 2506 พบพระท่ากระดานอยู่ในไห 29 องค์ พระท่ากระดานหูช้าง 800 องค์ พระขุนแผนสนิมแดงห้าเหลี่ยม 200 องค์ พระโคนสมอ 100 องค์ พระปรุหนัง 20 องค์
8. วัดท่าเสา ปี พ.ศ. 2507 ได้พระท่ากระดานไม่กี่สิบองค์ พระท่ากระดานน้อยจำนวนหลายร้อยองค์
9. บริเวณตำบลลาดหญ้าใกล้ ๆ กับ ค่ายทหารกองพลฯ ปี พ.ศ. 2537 ประมาณ 50 กว่าองค์
10 .บริเวณถ้ำในเขตอำเภอทองผาภูมิ ปี พ.ศ. 2541 พบพระประมาณ 80 องค์ ชำรุดเสียส่วนใหญ่
พระท่ากระดานจำแนกเป็นกรุใหญ่ ๆ ได้ 2 กรุคือ กรุเก่าและกรุใหม่ “กรุเก่า” ก็คือพระที่ถูกค้นพบที่ถ้ำลั่นทมใน ปี พ.ศ. 2497 และค้นพบในเขตอำเภอศรีสวัสดิ์คือ กรุบน, กรุกลาง, กรุล่างในปี พ.ศ. 2495 ถึงปี พ.ศ. 2496 และกรุวัดหนองบัวปี พ.ศ. 2497 “กรุใหม่” ก็คือกรุที่ถูกค้นพบที่วัดเหนือ (เทวะสังฆาราม), กรุนาสวน, กรุท่าเสา, กรุลาดหญ้า และกรุในถ้ำอำเภอทองผาภูมิ
พระท่ากระดานนอกจากจะเป็นพระชั้นหนึ่ง ของจังหวัดกาญจนบุรีแล้ว ยังถูกจัดอยู่ในชุดเบญจยอดขุนพลซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังที่สุด ของพระเนื้อโลหะด้วย ถือว่าเป็นพระที่มีราคาเช่าหาสูง และพุทธคุณนั้นเปี่ยมล้นไปด้วยความขลังไม่ว่าทางแคล้วคลาดหรือคงกระพัน ชาตรีจนมีผู้กล่าวขานกันว่าพระท่ากระดานนั้นคือ “ขุนศึกแห่งลุ่มน้ำแม่กลองเลยทีเดียว” พระท่ากระดานไม่ว่าจะเป็น “พระกรุเก่า” หรือ “พระกรุใหม่” ถือว่าสร้างพร้อมกันต่างกันเพียงสถานที่พบและระยะเวลาการขุดค้นพบเท่านั้น เอง
ขนาดมาตรฐานขององค์พระท่าพระดาน " พิมพ์ใหญ่ กว้างประมาณ ๒.๖ - ๒.๘ ซม. สูงประมาณ ๔.๒ - ๕.o ซม. ความหนาที่ฐานพระ ๑.๓ - ๑.๕ ซม. " และ " พระท่าพระดาน พิมพ์เล็ก มีขนาดกว้างประมาณ ๒.o - ๒.๕ ซม. สูงประมาณ ๓.๘ ซม. ความหนาที่ฐาน ๑.๒ ซม. "
... พระท่ากระดาน “มหิทธิฉัททนากร” หมายถึง “ผู้ทรงมหาอุตม์อันยิ่งใหญ่” เป็นพระศักรพุทธปฏิมาได้รับการเลือกสรรแล้วสำหรับ ประจำพระศอองค์สมเด็จพระภัทรมหาราชเจ้า จอมราชันผู้ประเสริฐแห่งทวยนิกรชาวไทยพุทธคุณ อยู่ยง คงกระพัน ชาตรี แคล้วคลาด ปลอดภัย มหาอุตม์
พระท่ากระดาน “มหิทธิฉัททนากร” หมายถึง “ผู้ทรงมหาอุตม์อันยิ่งใหญ่” เป็นพระศักรพุทธปฏิมาได้รับการเลือกสรรแล้วสำหรับ ประจำพระศอองค์สมเด็จพระภัทรมหาราชเจ้า จอมราชันผู้ประเสริฐแห่งทวยนิกรชาวไทย พุทธคุณ อยู่ยง คงกระพัน ชาตรี แคล้วคลาด ปลอดภัย มหาอุตม์ มหาอำนาจ มหานิยมในตัว เรียกได้ว่าครบเครื่องเลยทีเดียว
แบบพิมพ์หลักเฉพาะกรุ พระท่ากระดานที่ปรากฏในกรุต่างๆจะมีทุกพิมพ์เว้นแบบพิมพ์หูช้างเท่านั้นซึ่งมีจำนวนน้อยที่สุด แต่กรุใดกรุหนึ่งก็ย่อมจะมีแบบพิมพ์แบบพิมพ์ใดเป็นหลัก คือ มีปรากฏมากกว่าพิมพ์อื่นๆ ดังเช่น
ก. กรุถ้ำลั่นทม ได้แก่ แบบพิมพ์หน้าเสี้ยม พระเกศค่อนข้างยาวและ หลังแอ่ง
ข. กรุวัดล่าง ” แบบหน้ามงคล พระเกศค่อนข้างยาว หลังราบเรียบ (หรือเรียบนูน)
ค. กรุวัดกลาง(วัดท่ากระดาน) ” แบบหน้าลักยิ้ม พระเกศเมาลี หลังราบเรียบ (หรือเรียบนูน) และมีแบบพิมพ์หูช้างด้วย
ง. กรุวัดบน ” แบบหน้ามงคล (หรือหน้าลักยิ้ม,หน้าเสี้ยม) พระเกศเมาลี (หรือเกศจิ่ม , เกศยาว) หลังราบเรียบ (หรือเรียบนูน)
จ. กรุวัดนาสวน ” แบบพิมพ์อกครุฑ พระเกศเมาลี หลังเรียบนูน (หรือราบเรียบ)
ฉ. กรุวัดหนองบัว ” แบบพิมพ์หน้ามงคล พระเกศตุ้ม (หรือเกศจิ่ม) หลังแอ่ง
ช. กรุวัดเหนือ ” แบบพิมพ์หน้าลักยิ้มพระเกศยาวมาก หลังเรียบนูน (ราบเรียบ)
ซ. กรุวัดท่าเสา ” แบบพิมพ์หน้ามงคล พระเกศแบบยาว หลังราบเรียบ (หรือเรียบนูน)
ฌ. กรุวัดเขาชนไก่ ” แบบพิมพ์หน้าลักยิ้ม พระเกศเมาลี หลังเรียบนูน (หรือราบเรียบ)