วันศุกร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2560

ปั้นเหน่ง เครื่องรางของขลังทางไทยใหญ่ ลงรัก ลงชาด อายุร้อยกว่าปีโดยประมาณ





2 ความคิดเห็น:

  1. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  2. ข้อมูลเกร็ดความรู้เกี่ยวกับ ปั้นเหน่ง

    ปั้นเหน่ง : มาจากคำว่า ปันดิง หรือ ปันเดง ในภาษาชวาหมายถึง เครื่องประดับเอวจำพวกหัวเข็มขัด ถือเป็นอาภรณ์อย่างหนึ่ง ที่มีหัวโลหะฉลุลวดลายงดงาม ประดับของมีค่า มีสายคาดประดับไว้ที่เอว ทำให้ เห็นว่าเป็นเข็มขัด จึงแปลกันว่า เข็มขัด แต่ถ้า พิเคราะห์ให้ชัด คำว่า เข็มขัด กับ คำว่าเครื่องประดับเอวที่ใช้เป็นอาภรณ์นั้นมีนัยต่างกัน ใน บทถ้าชมปั้นเหน่ง ก็มักชมหัวที่เป็นโลหะฉลุเป็น ส่วนใหญ่.

    แต่สำหรับปั้นเหน่งในไทยนั้นตามตำนานเล่ากันว่า ในสมัยของรัชกาลที่ 4 เมื่อครั้งที่แม่นาคออกอาละวาดหลอกหลอนผู้คนอย่างหนัก และครั้งหนึ่งข่าวแม่นาคหลอกหลอนหนักโดยเฉพาะที่แยกมหานาค(ในปัจจุบัน) ทำให้สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ได้มาทำการสะกดวิญญาณความเฮี้ยน และเจาะกะโหลกผีแม่นาคเอามาขัดเป็นมัน ลงอักขระอาคม ทำเป็นปั้นเหน่งคาดเอว ซึ่งหลังจากนั้นได้นำปั้นเหน่งไปเก็บรักษาไว้ที่วัดระฆังโฆสิตาราม ครั้นเมื่อท่านชรามากแล้ว ได้มอบปั้นเหน่งกระดูกหน้าผากแม่นาคนี้ไว้กับหม่อมเจ้าพระพุทธบาทปิลันทน์ ซึ่งในภายหลังท่านได้เป็นหม่อมเจ้าสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัต) ต่อมาท่านได้ประทานปั้นเหน่งแม่นาคให้กับหลวงพ่อพริ้ง หรือพระครูวิสุทธิ์ศิลาจารย์ แห่งวัดบางปะกอก ซึ่งภายหลังได้นำเอาปั้นเหน่งอันนี้มาถวายแด่กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ใน เวลาต่อมา ก่อนที่ปั้นเหน่งแม่นาค จะถูกเปลี่ยนมือไปอีกหลายทอด และหายสาบสูญไปอย่างไร้ร่องรอย

    สำหรับปั้นเหน่งของทางล้านนานั้นเป็นเครื่องรางของชาวไทยใหญ่ที่อาศัยในแผ่นดินล้านนา สร้างไว้เมื่อหลักร้อยกว่าปีก่อน การสร้างปั้นเหน่งตามตำราต้องใช้กะโหลกของคนที่ตายโหง เช่น ตายท้องกลม ถูกฟ้าผ่าตาย รวมถึง การเลือกเอา กะโหลกของคนดวงแข็ง อย่าง ประเภทที่เป็นเสือเป็นโจรเก่ามาทำ จึงจะถูกต้องตามตำราและมีความขลัง การสร้างไม่ได้ทำง่ายๆ หนึ่งหัวจะทำปั้นเหน่งได้เพียงหนึ่งชิ้นเท่านั้น ผู้สร้างต้องมีวิชาอาคมที่แกร่งกล้าและปลุกเสกได้ถูกฤกษ์ยามตามตำรา การสร้างปั้นเหน่งนั้นถ้าเป็นแบบปั้นเหน่งจากศรีษะคนจะเลือกเอาเฉพาะส่วน หน้าผากมาทำ (แต่ก็มีบ้างที่ไม่ใช่ปั้นเหน่งแต่เป็นเครื่องรางในสายเดียวกันที่ใช้ กะโหลกช้าง หรือ กระดองเต่ามาทำ แต่ก็พิจารณาแยกได้ว่า ชิ้นไหนทำจากกะโหลกมนุษย์ ชิ้นไหนทำจากกระดูกของสัตว์) เมื่อนำมาใช้เป็นเครื่องราง

    ชาวไทยใหญ่ ชาวล้านนาทราบกันดีว่า

    เครื่องรางประเภทปั้นเหน่งนี้ เป็นของดีที่ใช้ได้หลายทาง เช่น

    1.พกไว้บูชากับตัวเป็นทั้ง แคล้วคลาด มหาอำนาจ และเมตตามหานิยม

    2.อธิษฐานพกพาติดตัวเดินทางจะทำให้ปลอดภัย เพราะ มีวิญญาณเจ้าของกะโหลก และ เทพหรือยักษ์ที่ผู้สร้างได้เชิญมาสถิตย์เพื่อปกปักรักษาผู้ที่ได้ครอบครอง

    3.บูชาไว้กับบ้านเรือนช่วยเจ้าของบ้านทำมาหากิน และ ช่วยดูแลบ้านให้ปลอดภัยจากโจรโขมย

    4.ป้องกันคุณไสย จนภูติผีปีศาจ และ ศัตรูหมู่มารที่คิดร้าย

    5.อธิษฐานขอในเรื่องที่เป็นไปได้ และ ไม่เกินอำานาจกรรมกำหนด เช่น เรื่องการทวงหนี้ การขอโชคขอลาภ เป็นต้น สิ่งสำคัญประการหนึ่งที่ผู้ที่ได้ครอบครองปั้นเหน่ง ไม่ควรลืมเรื่องการหมั่นทำบุญกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้กับเจ้าของกะโหลก เทพยาดา หรือ ยักษ์ที่สถิตย์อยู่ในปั้นเหน่ง ตลอดจนดวงวิญญาณของครูบาอาจารย์ผู้สร้าง ถ้าทำได้ตามนี้ก็เชื่อได้ว่า ท่านจะมีแต่ความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆขึ้น



    ปล..ขอบคุณข้อมูล

    ข้อมูลค้นคว้าเผยแพร่เชิงอนุรักษ์: โดย เชน เชียงใหม่

    ตอบลบ