วันพุธที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2561

พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์ใหญ่ พระสมเด็จพิมพ์ใหญ่องค์นี้มีธรรมชาติอย่างหนึ่งที่บางคนไม่เคยรู้และอาจไม่เคยได้พิจารณาคือพระสมเด็จที่ถูกบรรจุอยู่ในกรุจะมีธรรมชาติการงอกของหินปูนเปลือกหอยเหมือนเป็นชั้นของหินปูนขึ้นมาคลุมอีกชั้นหนึ่งเหมือนการงอกของหินงอกในถ้ำที่มีความชื้นเวลาที่เราไปจับหินงอกเหล่านั้นจะมีความแกร่ง ความมัน ความลื่นมือเมื่อสัมผัสก็คือผิวของหินปูนที่เกิดการงอก ซึ่งในพระสมเด็จองค์นี้จะมีรอยกระเทาะอยู่ตรงมุมบนด้านขวามือของเราซึ่งผมซูมให้ดูจะเห็นได้อย่างชัดเจน พระสมเด็จบางขุนพรหมนั้นมีอายุถึง 148 ปี มาแล้ว การงอกของหินปูนนั้นเป็นสิ่งพิสูจน์ได้อย่างหนึ่งเพราะพระต้องผ่านระยะเวลายาวนานการงอกของหินปูนเกิดขึ้นและทับถมกันจนเป็นชั้นผิวใหม่ขึ้นมา ผมนึกถึงหลายๆอย่างไม่ว่าจะเป็น พระเนื้อดินที่มีอายุมากๆหลายร้อยปี ก็จะมีชั้นของเนื้อลงไปเป็นชั้นๆ หรือจะเป็นพวกงาหรือเขี้ยวของสัตวที่มีอายุก็มีชั้นของผิวกระเทาะลงไปเป็นชั้นๆเช่นกัน หรือแม้แต่ต้นไม้ก็ยังมีชั้นปีในการเติบโต โบราณสถานต่างๆที่มีอายุเป็นพันๆปีที่มีการขุดพบโครงกระดูกต่างๆก็ยังมีชั้นดินที่ต้องขุดลงไปเป็นชั้นๆ หรือแม้แต่พื้นดินที่เราอยู่เมื่อผ่านเวลาไปเป็นปีๆพื้นดินตรงนั้นก็ไม่เหมือนเดิม ผมจะสรุปว่าของเก่าหรือวัตถุโบราณที่มีอายุนั้นล้วนแต่มีชั้นของผิวทั้งสิ้นดั่งเช่นพระสมเด้จบางขุนพรหมพิมพ์ใหญ่องค์นี้ คนที่จะรู้ธรรมชาติเหล่านี้ได้ต้องเป็นนักโบราณวัตถุ หรือคนที่ล้างพระจนมีประสบการณ์ที่จะรู้ธรรมชาติเหล่านี้ได้ คนที่ศึกษาอย่างจริงจังเก็บเกี่ยวประสบการณ์ และนี่ก็คือประสบการณ์ ที่เป็นความรู้ของผมที่นำมาเผยแพร่ให้ทุกคนได้รู้ครับ และนำไปต่อยอดความรู้กันโดยที่ไม่ต้องพึ่งพาใครตัวเราเองเท่านั้นที่รู้ได้ดีที่สุดครับ อีกอย่างที่อยากจะบอกคือในพระสมเด็จวัดระฆังที่ลงกรุก็มีธรรมชาติของผิวเป็นชั้นๆลงไปเช่นเดียวกันและต้องเป็นพระที่แก่ปูนเปลือกหอยครับจึงจะเกิดธรรมชาติเช่นนี้ได้






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น