วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2559

พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตารามลงชาดสีแดงและชาดสีดำ ชาด เป็นผงสีชนิดหนึ่งมีสีแดง บางครั้งเรียกชาดผง ชาดเขียนหวยหรือชาดตีตรา ได้มาจากการถลุงแร่ซินนาบาร์ แร่ซินนาบาร์ แร่ชนิดนี้ในตำรายาโบราณเรียกชาดจอแส ใช้สงบประสาทและถอนพิษ ก่อนใช้จะต้องฆ่าฤทธิ์ก่อน ส่วนชาดที่ได้จากเมอร์คิวรรีซัลไฟด์สังเคราะห์นั้นเรียกชาดหรคุณจีน "ชาด" ซึ่งเป็นแร่ชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นก้อนคล้ายก้อนหิน มีชื่อเรียกกันหลายอย่าง เช่น ชาดหรคุณ ชาดจอแส นิยมนำมาบดเป็นผงอาจผสมดินเทศให้มีสีแดงเข้มขึ้นทาตามอาคาร ชาวจีน และชาวเขิน(ไทยเขิน) มักใช้ในงานศิลปะ เช่น งานปิดทองล่องชาด งานเครื่องฮักเครื่องหาง และงานทาบนพระพุทธรูป และพระพิมพ์ เป็นต้น ตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นต้นมา สยามรับอิทธิพลและนำศิลปะจีนมาประยุกต์ใช้ในราชสำนักอย่างแพร่หลาย ก่อให้เกิดงานประณีตศิลป์ เช่น งานลงรักปิดทอง งานประดับมุก งานประดับกระจก การทำมุกแกมเบื้อ ซึ่งการลงชาดก็เป็นงานฝีมืออีกชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาใช้ในการทำอาคารสถานที่ การทำตู้พระไตรปิฎก การทำตู้ลายกำมะลอ และการทาชาดลงบนพระพุทธรูปและพระพิมพ์ ความนิยมดังกล่าวสืบเนื่องตั้งแต่สมัยล้านนามาจนถึงรัตนโกสินทร์ ที่นิยมสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่อง โดยปิดทองและทาชาด ทำให้พระพุทธรูปดูโดดเด่นงดงาม และนิยมมาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ในบางครั้งจะพบเห็นพระพุทธรูปเก่าๆ มีรอยกะเทาะจนเห็นริ้วสีแดงอยู่ภายในดูเผินๆ เหมือนเส้นโลหิต เป็นเหตุให้ร่ำลือไปต่างๆ นานา ซึ่งความจริงแล้วสีแดงที่เห็นเป็นสีของชาดซึ่งนำมาใช้แทนการใช้รักซึ่งมีสี ดำ ดังนั้น วิธีการดูพระพุทธรูป พระเครื่อง และพระพิมพ์เก่าอีกประการหนึ่งก็คือ ให้ดูความเก่าของชาดให้เป็น ยิ่งพระที่นิยมในราชสำนักแล้วจะใช้ชาดหรคุณ หรือชาดหรคุณไทย ซึ่งมีสีแดงจัดจ้าน มีน้ำหนักในตัว และเกาะติดทนนาน ส่วนผสมสำคัญในการปรุงชาดคือ 1. สี : ตามปกติแล้วจะใช้รงควัตถุจากธรรมชาติ เช่น ชาดแดง เสน หรือสีฝุ่น เพื่อให้เกิดสีตามที่ต้องการ 2. โกฐจุฬาลัมพา : ใช้เป็นตัวดูดซับสี 3. ดินขาว : ใช้เป็นตัวผสมส่วนประกอบให้เข้ากัน 4. น้ำมันละหุ่ง : ใช้เป็นตัวละลายสี 5. พิมเสน : ใช้ฆ่าเชื้อ สีแดงเป็นสีสำคัญของชาด แต่นอกจากคุณสมบัติเรื่องสี ชาดดียังต้องดูเรื่องอื่นๆอีกด้วย โดยพิจารณาสิ่งสำคัญๆดังนี้ ลักษณะของชาดคุณภาพไม่ดี จะเห็นข้อสังเกต 2 อย่างคือ 1 สีจางไม่สด 2 น้ำหนักสีจะไม่เท่ากัน สีแดงจะเกาะเป็นจ้ำๆ แสดงว่าชาดนี้ใส่โกฐจุฬาลัมพาปริมาณน้อย ลักษณะของชาดคุณภาพดี 1 ชาดดีจะมีความมัน ชาดดีมีน้ำมันอยู่พอสมควรไม่มากจนเยิ้มและเนื้อชุ่มกว่าชาดเนื้อไม่ดี 2 เนื้อละเอียดไม่แห้งมีความชุ่ม ถ้าสังเกตดูจะเห็นว่าชาดไม่ดีจะเนื้อค่อนข้างแห้ง เนื้อไม่ละเอียด ไม่ค่อยมีความชุ่มเท่าใด สีของชาด แท้จริงแล้วมีหลายสีแต่ว่า โดยพื้นฐานแล้วแบ่งเป็น 2 แบบดังนี้ 1. สีแดง เนื่องจากเป็นสีที่ใช้กันมากที่สุดจึงมีแบ่งเฉดสีออกไปอีก 3 เฉด คือ 1.1 กวงหมิง (อรุณกระจ่าง) เป็นชาดสีแดงอมส้ม 1.2 เหมยลี่ (งามชดช้อย) เป็นชาดสีแดงอมม่วง แบบสีแดงเปลือกมังคุด 1.3โกวเส่อ (โบราณรงค์) เป็นชาดสีแดงน้ำตาล 2. สีอื่นๆ เช่น สีดำ สีขาว สีเหลือง สีเขียว สีคราม สีทอง ฯลฯ









พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม พิมพ์ใหญ่




วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2559

พระปิดตา พิมพ์พระสังกัจจายน์ หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว พิมพ์นี้ชาวบ้านเรียก พิมพ์พุงป่อง หรือพิมพ์อุ้มท้อง บล็อกแม่พิมพ์พระปิดตาของหลวงปู่ยื้มมีทั้งบล็อกหินมีดโกน และปั้นมือ พระพิมพ์บล็อกหินมีดโกน เมื่อกดพิมพ์ออกมาจะปรากฎมีปีกเกิน แล้วจึงนำพระมาตัดขอบข้างที่เกินออก บางองค์ก็ยังเห็นขอบข้างเกินออกมาให้เห็นแต่สำหรับพระปิดตาองค์นี้ไม่ได้ตัดขอบซึ่งนานๆจะพบเห็นสักองค์ 






พระร่วงยืนหลังลายผ้าลพบุรี







วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2559

หนึ่งในห้าพระปิดตา พระปิดตาพิมพ์ชลูด หลวงปู่ยิ้มวัดหนองบัว จ.กาญจนบุรี เนื้อผงพุทธคุณผสมดินรังหมาร่า หนึ่งในห้าพระปิดตาเบญจภาคี หมาร่านั้นเป็นแมลงจำพวกต่อหรือแตนแต่จะทำรังด้วยดินเหนียวหรือดินเหนียวปนทราย ซึ่งไม่น่าแปลกที่จะเห็นเม็ดกรวดทรายสีใสหรือขุ่นในพระปิดตาหลวงปู่ยิ้ม เพราะหลวงปู่ท่านจะใช้รังหมาร่าที่เกาะตามพระประธานหรือพระพุทธรูปเท่านั้นแล้วนำมาเคี่ยวใช้ผสมในเนื้อพระของท่าน เนื้อพระของหลวงปู่ยิ้มหากไม่ได้ผ่านการใช้นั้นจะแห้งสนิทขึ้นคราบแต่ถ้าผ่านการใช้เนื้อจะมีความหนึบนุ่มคล้ายเนื้อพระสมเด็จวัดระฆังที่แก่ผงพุทธคุณ แต่เนื้อของพระสมเด็จวัดระฆังจะมีความแกร่งและเกาะตัวกันแน่นกว่าเพราะอายุมากว่าและมีส่วนผสมตัวประสานต่างกัน ด้านหลังพระปิดตาหลวงปู่ยิ้มบางองค์จะเห็นรอยนิ้วมือของผู้ทำใช้ปั้นแต่งพิมพ์หรือหลังบางองค์จะเป็นหลังปาดเห็นเป็นริ้วคลื่น หลังนูนๆ บางองค์ปั้นด้วยมือล้วนๆบางองค์ใช้บล็อกแม่พิมพ์ซึ่งพิมพ์จะไม่สวยเหมือนพระปิดตาทั่วไปแต่พุทธคุณรู้กันดีครับ ผิดถูกอย่างไรขออภัยและอย่าเพิ่งเชื่อจนกว่าจะได้ศึกษาด้วยตนเอง






วันอังคารที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2559

พระยอดขุนพลแห่งลุ่มแม่น้ำแม่กลอง พระท่ากระดานพิมพ์ใหญ่ หน้าทวารวดี กรุเก่า อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี ศิลปะของพระหน้าทวารวดี คือ คิ้ว(พระขนง) ต่อกันเป็นรูปปีกกา พระเกตุมาลาเป็นต่อมนูนใหญ่ บางทีมีรัศมีบัวตูมเหนือเกตุมาลา และสั้น ใบหน้า(พระพักตร์)แบนกว้าง ตา(พระเนตร)โปน คาง(พระหนุ) ป้าน หน้าผาก(พระนลาฏ) แคบ จมูก(พระนาสิก)ป้านใหญ่แบน ปาก(พระโอษฐ์) หนา มือ(พระหัตถ์ )และเท้า(พระบาท)ใหญ่ ยังคงขัดสมาธิหลวม ๆ แบบอมราวดี มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษ ที่ 13-15 และพระท่ากระดานนั้นได้รับอิทธิพลศิลปะเขมรเนื่องจากเขมรเริ่มมีอิทธิพลมากขึ้นในสมัยเมืองพระนคร ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 ศิลปกรรมแบบทวารวดีในระยะนี้จึงมีอิทธิพลเขมรแบบบาปวนหรืออิทธิพลศิลปะเขมรในประเทศไทยที่เรียกว่าศิลปะลพบุรีปะปน เช่น พระพักตร์เป็นรูปสี่เหลี่ยม มีลักยิ้ม