วันอังคารที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2559
พระยอดขุนพลแห่งลุ่มแม่น้ำแม่กลอง พระท่ากระดานพิมพ์ใหญ่ หน้าทวารวดี กรุเก่า อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี ศิลปะของพระหน้าทวารวดี คือ คิ้ว(พระขนง) ต่อกันเป็นรูปปีกกา พระเกตุมาลาเป็นต่อมนูนใหญ่ บางทีมีรัศมีบัวตูมเหนือเกตุมาลา และสั้น ใบหน้า(พระพักตร์)แบนกว้าง ตา(พระเนตร)โปน คาง(พระหนุ) ป้าน หน้าผาก(พระนลาฏ) แคบ จมูก(พระนาสิก)ป้านใหญ่แบน ปาก(พระโอษฐ์) หนา มือ(พระหัตถ์ )และเท้า(พระบาท)ใหญ่ ยังคงขัดสมาธิหลวม ๆ แบบอมราวดี มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษ ที่ 13-15 และพระท่ากระดานนั้นได้รับอิทธิพลศิลปะเขมรเนื่องจากเขมรเริ่มมีอิทธิพลมากขึ้นในสมัยเมืองพระนคร ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 ศิลปกรรมแบบทวารวดีในระยะนี้จึงมีอิทธิพลเขมรแบบบาปวนหรืออิทธิพลศิลปะเขมรในประเทศไทยที่เรียกว่าศิลปะลพบุรีปะปน เช่น พระพักตร์เป็นรูปสี่เหลี่ยม มีลักยิ้ม
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น