วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559

พระร่วงนั่งซุ้มนครโกษาสนิมแดง กรุบ้านหัวเกาะ สุพรรณบุรี ตะกั่วสนิมแดง คราบกรุแคลเซี่ยม บางองค์ที่มีสภาพสมบูรณ์ จะมีคราบแคลเซี่ยมที่เกิดจากความชื้นปกคลุมแต่ถ้าล้างออกจะพบสนิมแดงอยู่ด้านใน










1 ความคิดเห็น:

  1. สนิมตะกั่ว" จะมีลักษณะเป็นสีแดง หนา และติดแน่น มีความมัน ยิ่งเมื่อถูกสัมผัสก็จะยิ่งมันวาว และบนสนิมแดงนี้จะเกิดสนิมไขสีขาวครีมเคลือบอยู่อีกชั้นหนึ่ง และจาการเวลาที่ยาวนานดังกล่าวแล้วสนิมแดงนี้จะเป็นสนิมแดงเข้มคล้ายสีเปลือกมังคุด และมี "รอยแตกตามุ้ง" ลักษณะเป็นตาตารางบนเนื้อสนิมแดง ตลอดจนบนสนิมไขซึ่งเกิดจากการหดตัวหรือขยายตัวของเนื้อตะกั่วขององค์พระ เอกลักษณ์อีกประการหนึ่งคือ "คราบปูนแคลเซี่ยม" อันเป็นหลักสำคัญสำหรับการพิจารณาพระแท้ของพระเนื้อชินตะกั่ว ซึ่งเรียกว่า "พระชินสนิมแดง"

    เต้าตะกั่วที่ลงโชว์ จะพบเจออยู่ตามกรุพระหลายๆที่ เช่นที่กรุถ้ำลั่นทม กรุพระท่ากระดาน ที่ ต. ท่ากระดาน อ. ศรีสวัสดิ์ ก็พบเจอเต้านี้อยู่ในกรุพระ และบริเวณเตาหลอมพระที่พบ บริเวณหน้าถ้ำนั้นด้วย จำนวนหนึ่ง คาดว่าการหลอมตะกั่วเทพระท่ากระดาน ก็คงใช้เต้าตะกั่วแบบนี้เป็นวัตถุดิบนำมาหลอม

    ตอบลบ